เบิ่ง Vision วีระศักดิ์ โควสุรัตน์

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ขอทำงานในแบบ “ให้เข่าและมือเปื้อนดิน”

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตั้งโจทย์ใหญ่ในการทำงานภายใต้เวลาจำกัด 1 ปี ก่อนเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง โดยตั้งเป้ามุ่งกระจายรายได้ท่องเที่ยวลงสู่ท้องถิ่นให้มากกว่าเดิม และจะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวให้เป็นเครื่องมือ “นำ เศรษฐกิจดีขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม  พร้อมเดินหน้าทำการท่องเที่ยวในชุมชน ในเมืองรองให้ยั่งยืนด้วยการลงพื้นที่ไปทำให้ดีขึ้นให้ปลอดภัยและยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ของชุมชนเอาไว้ให้ได้ ประกาศหลักการทำงานด้วยประโยคเด็ด ว่า

“การทำงานในช่วง 1 ปี ก่อนเลือกตั้ง เข่าและมือจะเปื้อนดิน ทำงานภาคสนาม มากกว่ายืนบนโพเดียม”

 

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ถึงจะเป็นรมต.คนใหม่ถอดด้านของรัฐบาลประยุทธ์ 5 แต่ว่าเขาคือคนเคยเก่าของกระทรวงแห่งนี้ มรว.กก.คนใหม่ได้กล่าวถึงนโยบายและหลักการทำงานในวันแรก ของการทำงานซึ่งก็คือวันที่ 1 ธ.ค. 60 ที่ผ่านมา ว่าการกลับมาที่นี่ถือว่าเเป็นครั้งที่ 3 แล้วจึง รู้สึกดีใจ ที่ได้มาเจอมิตรเก่าๆ ที่มีโอกาสรู้จักกันมานับ 10 ปี

“การมาทำหน้าที่ตรงนี้ เหมือนเป็นการมารับไม้ต่อจากรัฐบาลที่ได้ทำงานมาแล้ว 3 ปีเพื่อที่จะปรับปรุงให้พร้อมเพื่อกลับไปสู่การเลือกตั้ง ผมมาทำหน้าที่ๆ เหลือเวลาอีก 1 ปี  ในระยะเวลา 1 ปี ลักษณะกิจกรรมก็จะมีทั้งจะจุดเพิ่มและจุดเน้น

งานท่องเที่ยวและกีฬาเป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนในสังคมมีความรู้สึกถึงความรัก ความสามัคคี ความรักชาติ”

ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ท่องเที่ยวต่อจีดีพีของประเทศอยู่ที่ 20% ถือเป็นอันดับต้นของโลก มีโอกาสอีกมากหากสามารถกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง ขณะเดียวกัน มองว่าการจัดโครงสร้างพื้นฐานเรื่องกระจายรายได้ จะช่วยแก้ปัญหาระยะยาวของไทย

“ประเทศไทยไม่พร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวแน่นอน หากมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 60 ล้านคน ซึ่งได้มีการคาดการณ์ของหน่วยงานต่างประเทศว่ามีความน่าจะเป็นไปได้สูง ดังนั้นผมจึงจะต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ เน้นการทำงานสานต่อจากนโยบายเดิมที่มีอยู่ ให้ความสำคัญกับการทำงานต่อเนื่อง ไม่เปลี่ยนแผนการทำงานไปตามวาระของบุคคลและหากรัฐมนตรีคนถัดไปเข้ามาก็สามารถสานงานต่อได้ทันทีเช่นกัน”

ภายใต้กรอบเวลา 1 ปี เชื่อว่าจะขับเคลื่อนงานได้มากพอสมควร และจะมุ่งการสร้างรากฐานเพื่อผู้รับตำแหน่งจะสานต่อได้ทันที จากการปรับพื้นฐานและข้อกฎหมายเพื่อให้เกิดความคล่องตัว โดยนำประสบการณ์จาก 9 ปีก่อน ที่เคยทำงานกับกระทรวงฯ และยังได้ทำงานด้านท่องเที่ยวต่อเนื่องมาตลอด มาใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโครงสร้างเชิงระบบ ให้การท่องเที่ยวช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

โครงการที่จะเป็นรูปธรรมได้แก่ การจัดทำคลินิกท่องเที่ยว ที่จะรวบรวมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งมาจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหรือภาคเอกชน เข้าไปร่วมมือกับชุมชนแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ เช่น แก้ปัญหาความเสื่อมโทรม เข้าฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว

“คลินิกท่องเที่ยว ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตั้งเป็นหน่วยงานขึ้นมาแก้ไขปัญหา แต่ให้ทุกคนช่วยเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงโดยที่กระทรวงฯ จะนำเกณฑ์มาตรฐาน 51 ข้อด้านการท่องเที่ยวยั่งยืนของสภาการท่องเที่ยวยั่งยืนโลก หรือ จีเอสทีซี (GSTC : Global Sustainable Tourism Council) มาช่วยกำกับดูแลทั้งด้านธรรมชาติ ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ พร้อมรักษาปัจจัยพื้นฐานเดิม ความสะอาด สะดวก และปลอดภัย”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังต้องรอรับมอบนโยบายจากรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะมีการแบ่งโควต้าการทำงานอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ส่วนการขับเคลื่อนเพื่อกระจายรายได้นั้น เชื่อว่าด้วยโครงสร้างเดิมที่มีอยู่ คือ คณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ซึ่งเตรียมจัดทำเขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) เพิ่มจาก 8 เป็น 14 คลัสเตอร์ โดยต่อไปจะแบ่งคลัสเตอร์ที่มีความเชื่อมโยง เช่น วิถีลุ่มน้ำ อัตลักษณ์ อาหารการกิน เชื่อมด้วยกีฬา

“ยอมรับการทำงาน 1 ปีไม่เสร็จแน่นอน แต่จะได้เริ่มสร้างแนวทางไว้ให้ และต้องทำไปเรื่อยๆ ต้องชักชวนคนมาร่วมเป็นพลัง ตั้งแต่การบำรุงรักษา การจัดระเบียบด้านท่องเที่ยว ผมหวังว่างานของผมใน 1 ปี ข้างหน้า จะเน้นไปที่หัวเข่าเปื้อนดิน ทำงานอยู่ในสนามให้มากกว่าบนโพเดี่ยม เพราะการซ่อมแซมแหล่งท่องเที่ยวของไทยจำเป็นต้องไปลงมือทำ จริงอยู่ภายใน 1 ปีทำได้ไม่เสร็จหรอก แต่จะต้องเริ่มบรรยากาศที่จะทำแบบนี้

ส่วนเรื่องพลังที่จะกวักมือชวนให้คนต่างชาติมาเที่ยวไทย ชักชวนคนไทยให้มาเที่ยวไทยมันมีพลังอย่างดีมาก เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม แต่เรื่องการซ่อม การบำรุงรักษา การทำให้เป็นระบบ การจัดการระบบของเสีย น้ำทิ้ง ขยะ การจราจร เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต่องลงมือไปทำก่อน หรือแม้แต่การไปช่วย ในเรื่องปฎิทินต่างๆ และผังเมืองที่จะทำให้เมืองรองและเมือหลักให้สามารถ มีจังหวะที่จะซ่อมตัวเองได้ด้วย ก่อนที่คลื่นความหนาแน่นของบรรดานักท่องเที่ยวจะเข้าไปในพื้นที่

 

 

การจะทำให้เรื่องท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือของการลดความเหลี่ยมล้ำนั้น  ก็ต้องหันไปดูว่า 20 % ของจีดีพีจากการท่องเที่ยวนั้น ผลประโยชน์ของการท่องเที่ยวจะทำให้มันกระจายไปสู่ชุมชนให้ได้มากได้อย่างไร ถ้าเขาทำธุรกิจยังไม่สะดวกมือ ในด้านการท่องเที่ยวคลินิกท่องเที่ยวก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าไปช่วย

แต่คลินิกนี้จะไม่ใช่แค่มีตัวแทนจากหน่วยงานของกระทรวง แต่จะมีตัวแทนของภาคอุตสาหกรรม ตัวแทนของสมาคม ตัวแทนของนักวิชาการ ตัวแทนของคนทำธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งบางคนอยากที่จะทำซีเอสอาร์ จะไม่ใช่แค่ไปทำความดีกับเขา แต่จะไปช่วยเขาไห้ทำธุรกิจเป็นได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการซีเอสอาร์อย่างดี ที่จะได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

 

และผมจะต่อยอดในสิ่งที่ผมทำไว้เมือ 9 ปีที่แล้วคือ  สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้เอกลักษณ์ และจะมีเพิ่มมาหนึ่งข้อนั่นก็คือ ยั่งยืน

ส่วนในเรื่องดัชนีของความยั่งยืนจะเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะว่าความยั่งยืนก็ดี คุณภาพก็ดี เป็นสิ่งที่ไม่อยากให้ต่างคนต่างตีความว่าอะไรคือคุณภาพและอะไรคือความยั่งยืน

ซึ่งหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ผมจะให้ อพท.เป็นคนรับผิดชอบในส่วนนี้ ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก ซึ่งจะทำให้เราได้ตอบโจทย์ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ในการลดความเหลี่ยมล้ำได้”

 

หลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับแหล่งท่องเที่ยว (Global Sustainable Tourism Criteria )  เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จัดขึ้นโดยองค์กรที่ชื่อว่า สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก Global Sustainable Council-GSTC เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนถือปฎิบัติ และเพื่อตอบสนองค่านิยามของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แหล่งท่องเที่ยว จะต้องบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมองภาพรวมที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติคือ

1.การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

2.เพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบ ทางสังคม-เศรษฐกิจแก่ชุมชนท้องถิ่น

3.เพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบ ทางวัฒนธรรมชุมชนและนักท่องเที่ยว

4.เพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบด้านลบทางสิ่งแวดล้อม โดยหลักเกณฑ์นี้ได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้กับแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกขนาด

GSTC มีหน้าที่ให้1.การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสากล 2. ร่วมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3.พัฒนาตลาดท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4.ให้ความรู้ ความเข้าใจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 5.ให้การรับรองเกณฑ์มาตรฐาน

“การท่องเที่ยวในชุมชน ในเมืองรองจะยั่งยืนได้อย่างไร เราจะต้องลงพื้นที่ไปทำให้ดีขึ้นให้ปลอดภัยและยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ของชุมชนเอาไว้ให้ได้”

เป็นโยคเด็ดที่รมว.ท่องเที่ยวและกีฬาที่ชื่อว่าวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

นโยบาย 6 ข้อ จาก รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา

  1. 1. การดูแลความปลอดภัย ความผาสุกของประชาชน รักษาวัฒนธรรม ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และการพัฒนาที่ใช้หลักการทรงงานของในหลวง ร.9
  2. 2. การบูรณาการการทำงานด้านการท่องเที่ยวและกีฬาให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกัน ให้สอดคล้องกับ
    ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ และนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนการบูรณาการการทำงานระหว่าง
    หน่วยงานต่าง ๆ
  3. 3. ด้านท่องเที่ยว

3.1 การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ ตลอดจน การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ในด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยวชุมชน
3.2 การท่องเที่ยวต้องมี “สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้เอกลักษณ์และยั่งยืน” โดยใช้ตัวชี้วัดตามมาตรฐานของ (Global Sustainable Tourism Council Index : GSTC)
3.3 จัดตั้งคลินิกด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้คำปรึกษาให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว และช่วยให้เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวสามารถบำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้คุณภาพ
3.4 Digital Tourism

4.ด้านการกีฬา
4.1 การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้เกิดการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ใช้กีฬาเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง
4.2 การสร้างวัฒนธรรมการกีฬา เช่น วัฒนธรรมการเชียร์กีฬา
4.3 การส่งเสริมอุตสาหกรรมกีฬา ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
4.4 โภชนาการการกีฬา สามารถนำอาหารไทยมาใช้ให้เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละชนิด

  1. 5. การใช้งบประมาณให้มีสอดคล้องตามแผนงาน เน้นความโปร่งใส และการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
  2. 6. การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เน้นการทำงานเชิงรุก ลดความซ้ำซ้อนการทำงาน และการปรับวัฒนธรรมการทำงาน

 

ล้อมกรอบ

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ หรือ “เอ” เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2508  ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายวิชัย และนางนันทนา โควสุรัตน์

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อปี พ.ศ. 2532 นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เมื่อปี พ.ศ. 2535 นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา (LL.M. Harvard Law School)

ด้านการเมือง พ.ศ. 2548 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย  พ.ศ. 2550 ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติไทย จนได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “กุนซือ” ทางด้านการเมือง

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *