เช็คอิน ปทุมฯ ใน 1 วัน

1 min read

เชียร์เรือยาว ล่องเจ้าพระยา สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชมพระอาทิตย์ตก ที่เมืองปทุมธานี

 

 

R-U-GO.COM: พาไปเช็คอินเมืองปทุมธานี ในแบบวันเดย์ทริป

ด้วยการเชียร์เรือยาว ล่องเจ้าพระยา สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชมพระอาทิตย์ตก

เชียร์เรือยาว

การแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดปทุมธานี ประจำปี 2566 ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีพร้อมทั้งล่องเรือเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวริมสองฝั่งเจ้าพระยา กราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อุดหนุนสินค้าชุมชน ชิมอาหารอร่อยในบรรยากาศริมน้ำที่งดงามการจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดปทุมธานี ชิงถ้วยพระราชทานฯ ในครั้งนี้จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ร่วมกับ จังหวัดปทุมธานี และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 3-5 ธันวาคม 2566 ณ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสวนเทพปทุม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

โดยได้ระดมเรือดังดีกรีแชมป์ถ้วยพระราชทานฯทั่วประเทศ ดวลฝีพายกัน ในระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2566 (2วัน) ณ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสวนเทพปทุม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ภายในงานพบกับ ขบวนอันเชิญถ้วยพระราชทานอันยิ่งใหญ่อลังการ ในวันที่ 4 ธันวาคม2566 กิจกรรมเด่นภายในงานได้แก่ ชมการแข่งขันเรือยาวประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเรือยาว 55 ฝีพาย / 40 ฝีพาย /30 ฝีพาย และประเภท เรือพายม้า หรือเรือท้องถิ่น 10 ฝีพาย ภายในงานสามารถชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ที่จัดขึ้นในอาคารเรือนแพขาว อาคารที่เคยเป็นสถานที่ถวายการต้อนรับ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรจังหวัดปทุมธานี โดยประทับ ณ เรือนแพขาวเพื่อทอดพระเนตรการแข่งขันเรือพาย นอกจากนั้นเลือกชม ชิม ช็อป กับมหกรรมตลาดนัดบัวหลวง 140 ร้านค้า ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 3-5 ธันวาคม 2566 อาทิ ข้าวแช่ เมี่ยงกลีบบัว อาหารท้องถิ่น สินค้า OTOP ฯลฯ

และทุกคืนสนุกกับคอนเสิร์ตศิลปินนักร้องชื่อดัง ได้แก่ ในวันที่ 3 ธันวาคม 2566 ปีเตอร์ โฟดิฟาย, วันที่ 4 ธันวาคม 2566 แนนซี่ ท็อปไลน์ และวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ป๊อบ ปองกูล โดยเปิดให้เที่ยวฟรี ชมฟรีตลอดงานการจัดงานครั้งนี้นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี ขณะเดียวกันก็เป็นการรณรงค์ให้ชาวไทยได้ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณที่ดีงามของไทยสืบไปจังหวัดปทุมธานี เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ก่อให้เกิดชุมชนและวัฒนธรรมริมสองฝั่งเจ้าพระยามากมาย

นอกเหนือจากการแข่งขันเรือพาย ซึ่งเป็นการละเล่นทางน้ำที่อยู่คู่กับชุมชนแล้ว ปทุมธานียังมีแหล่งวัฒนธรรมชุมชนไทยเชื้อสายรามัญ ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในวัดวาอารามที่น่าสนใจหลายแห่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกทั้งยังมีวิสาหกิจชุมชนที่สร้างสรรค์สินค้าชุมชนจากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร รวมถึงมีร้านอาหารวิวดีคาเฟ่ริมน้ำพร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวจำนวนมากอีกด้วย

 

สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ททท.สำนักงานกรุงเทพมหานคร-2-ททท.สำนักงานกรุงเทพมหานคร จึงใช้โอกาสนี้เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวที่มาเข้าร่วมงานได้เดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงกับสถานที่จัดการแข่งขัน ได้แก่

1. วัดไก่เตี้ย มีรูปหล่อ”หลวงปู่เดินหน อิเกสาโร” เป็นรูปหล่อของหลวงปู่เดินหน มีประดิษฐานที่เดียวในจังหวัดปทุมธานี ส่วนหลวงปู่เดินหนไม่มีใครเคยพบเห็นตัวท่านมีเพียงแต่เรื่องราวเล่าขานว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์หรือพระวิปัสสนากรรมฐานมากด้วยวิชาอาคม เมื่อครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่ผู้คนนิยมขอพรเรื่องหน้าที่การงานให้เจริญรุ่งเรือง สอบเข้ารับราชการและแคล้วคลาดปลอดภัย สำหรับการแก้บนนั้นทางวัดไก่เตี้ยกล่าวว่าหลวงปู่เดินหน ชอบเรื่องสืบสานทางพระพุทธศาสนา เช่นการอุปสมบทพระสงฆ์หรือสามเณร

2. ผ้าทอใยกล้วยกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน (ผ้าไทย) ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ทำจากต้นกล้วย หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเศษวัสดุการเกษตรเหลือทิ้งในส่วนของกาบและก้านใบของกล้วย นำมาแยกสกัดเป็นเส้นใยกล้วยและเส้นใยอื่น นำไปทอผ้าโดยใช้กี่กระตุก 2 ตะกอ 4 ตะกอ 6 ตะกอ ควบด้วยเส้นด้านพุ่ง 4 เส้น ต่างสีสันกันพุ่งไปมา ทำให้เนื้อผ้ามีความพิเศษ มีผิวสัมผัสและน้ำหนักเบา ทำให้สวมใส่สบาย “‘รักษ์โลก-ใส่สบาย-สร้างรายได้แก่ชุมชน”

3. วัดมะขาม สร้างขึ้นราวปีพ.ศ. 2170 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่

เจดีย์วัดมะขาม เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ ทรงระฆังเหลี่ยม ฐานแอ่นโค้งและเจดีย์ทรงระฆังแบบองค์ระฆังโค้งมน เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ ศิลปะสมัยอยุธยา ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดปทุมธานี

หน้าบันอุโบสถเป็นปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ มีเทพพนมประกอบภาพอยู่ด้วย

นอกจากนั้นยังมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ในวิหารใกล้เจดีย์ทั้งสอง

 

4. วัดศาลเจ้า ตลาดริมน้ำวัดศาลเจ้า อยู่ใกล้ศาลเจ้าปุ่งเถ่ากง และมีวิหารเซียนแปะโรงสี เป็นสถานที่ที่ได้รับความนับถือศรัทธาในการไหว้พระ ทำบุญ ขอพรมากเป็นอันดับต้นๆของปทุมธานีได้แก่ โดยเฉพาะการไหว้เรื่องของความศรัทธา การค้าขาย การปลดหนี้ การงาน การเงิน

จากเซียนแปะ ใกล้ๆกันมีตลาด แวะช้อปขนมและของอร่อย เจ้าเก่า เจ้าดังของ จังหวัดปทุมธานีทั้งกุยช่าย ปลาแดดเดียว ลูกชิ้นปลา ผักและผลไม้ได้อย่างเพลิดเพลิน

5. วัดโบสถ์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2164 โดยชาวมอญที่อพยพมามาจากเมืองหงสาวดี วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2167

 

สิ่งสำคัญอยู่คู่วัดโบสถ์ได้แก่การสักการะหลวงปู่เทียน ขอพรหลวงพ่อสมปรารถนา,

ลอดโบสถ์ที่มีการดีดยกฐานอาคารขึ้นอายุกว่า 400 ปี เชื่อกันว่าอานิสงส์จากบุญดีดโบสถ์ ยกโบสถ์นี้ จะเป็นการยกฐานะ ยกชีวิต ยกดวงชะตา จากที่รู้สึกดวงไม่ดี ชีวิตตกต่ำให้สูงขึ้น สิ่งไม่ดี สิ่งอัปมงคลจะออกไปจากชีวิต ทำให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรือง ค้าขายดีนอกจากนั้นยังมีผู้มาขอพรท้าวเวสสุวรรณ และสักการะรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในวัดอีกด้วย

นายชาญยุทธ เศวตสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า

“การจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดปทุมธานีเป็นหนึ่งในกิจกรรมเชิงกีฬา ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมเทศกาล (Festival) และส่งเสริมกีฬาไทย (Fighting) ให้มีความดึงดูด น่าสนใจ และช่วยสร้างความนิยมในความเป็นไทย หรือ ที่เรียกว่า Soft Power ได้อีกด้วย เป็นกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ให้มีการขยายตัวในช่วงของการจัดกิจกรรม ซึ่งผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ชุมชน ในพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากการจัดงานครั้งนี้เป็นอย่างมาก และที่สำคัญแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี ที่ได้นำเสนอในครั้งนี้ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งในด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงศรัทธา ซึ่งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีมีอีกหลายแห่ง และสามารถเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดาได้ ซึ่งจะเป็นการขยายช่วงเวลาการท่องเที่ยว ลดการกระจุกตัวในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์สร้างโอกาสใหม่ๆในการท่องเที่ยวให้แก่ปทุมธานี ได้มากยิ่งขึ้น”

สอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ 1672 และที่ www.facebook.com/tatbangkok

You May Also Like

More From Author

+ There are no comments

Add yours