สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี ติดปีกสมนนไพรไทย เสริมแกร่งเกษตรกรลพบุรี พาไปศึกษา ดูงานสมุนไพรไทย เจาะลึกในแบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

1 min read

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี ติดปีกสมุนไพรไทย เสริมแกร่งเกษตรกรลพบุรี พาไปศึกษา ดูงานสมุนไพรไทย เจาะลึกในแบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

R-U-GO.COM: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี เดินหน้าเสริมแกร่งเกษตรกรลพบุรี เรื่องสมุนไพรไทย ในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการรวมกลุ่มผลิตพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพภายใต้โครงการพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพรดูแลสุขภาพครบวงจรตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

ด้วยการพาเกษตรกรไปศึกษาดูงานในสถานที่จริงระหว่างวันที่ 11 – 13 กรกฎาคม 2567

ณ  จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี

ในหัวข้อ“พัฒนาทักษะการบริหารจัดการแบบกลุ่มผลิตพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ”

นายธนวัฒน์ สารสิน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า

โครงการพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพรดูแลสุขภาพครบวงจร เกิดขึ้นหลังจากที่เกิดโรคอุบัติใหม่หรือโควิดที่ผ่านมา ทำให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เล็งเห็นว่า เกษตรกรสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเกษตรกรเองได้ แม้จะได้รับผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่โดยตรง

“หลังจากที่เราสามารถผลิตพืชอาหารเพื่อบริโภค สร้างความมั่นคงด้านอาหารแล้ว  เราก็อยากสร้างความมั่นคงและป้องกันในเรื่องของสุขภาพด้วย ก็เลยอยากส่งเสริมในเรื่องสุขภาพ จึงเกิดโครงการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการแบบกลุ่มผลิตพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพขึ้นมา

อย่างน้อย ก็มีเกษตรกรที่ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในครัวเรือนเป็นยาป้องกันและรักษาโรคโดยไม่ต้องพึ่งพายาจากภายนอก ซึ่งสถานการณ์ตอนนั้นมันค่อนข้างจะจำกัด ก็เลยอาศัยสมุนไพรในครัวเรือนเข้ามาเป็นตัวป้องกันและรักษาโรคเบื้องต้นไปก่อน หลังจากนั้นเกษตรกรรายไหนสามารถนำสมุนไพรไทยมาต่อยอดสร้างเป็นอาชีพ ต่อยอดเป็นเชิงธุรกิจก็สามารถเอาตัวสมุนไพรตัวนี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นการสร้างรายได้ ซึ่งปลายทางของเราจริง ๆ  มีสองทางต้องเดินคู่กัน คือการสร้างความมั่นคงและการป้องกันโรคอุบัติใหม่ ไม่แน่ในอนาคตอาจมีโรคอุบัติใหม่ขึ้นมาอีกก็ได้”

นายธนวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลพบุรี จะส่งเสริมในเรื่องตัวยาสมุนไพรห้าราก (รากคนทา , รากชิงชี่ , รากเท้ายายม่อม , รากมะเดื่อชุมพร รากย่านาง ) ซึ่งสมุนไพรกลุ่มนี้สามารถเป็นยาป้องกันโรคอุบัติใหม่ได้ ซึ่งต่างชาติ ไม่รู้แต่คนไทยเรามียาตัวนี้อยู่ซึ่งสามารถป้องกันโรคอุบัติใหม่ได้ อีกทางหนึ่งเราพยายามจะเชื่อมโยงตัววัตถุดิบเข้าสู่แหล่งที่สร้างมูลค่ากับสมุนไพรได้และสุดท้ายสิ่งที่สำคัญของโครงนี้ก็คือ

“การยกระดับตัวเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นไม่ว่าจะทางด้าน สุขภาพ การเงินและความมั่นคงชีวิต”

นายธนวัฒน์  กล่าวต่อไปว่า ในระยะเวลา 3 วันของการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ว่า

1.ได้มาศึกษาดูงานในสถานที่ต้นน้ำของการผลิตสมุนไพรที่ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ จังหวัดนครปฐม เราจะได้เรียนรู้ว่าจะมีวิธีการปลูกพืชสมุนไพรยังไง และผลิตพืชสมุนไพรชนิดไหนที่เหมาะสมกับพื้นที่ลพบุรีของเรา ผลิตแล้วจะสามารถเอาไปแปรรูปเป็นยารักษาโรคได้อย่างไร และจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยวิธีไหน

2.ศึกษาดูงานในสถานที่เป็นกลางน้ำของสมุนไพรที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรด่านทับตะโก ต.ด่านทับตะโก อ. จอมบึง จ.ราชบุรี รับฟังการบรรยายเรื่อง  “การบริหารจัดการพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน”

ศึกษาดูงาน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านพัฒนาสมุนไพรไทยชุมชนบ้านห้วยทรายเหนือ ต.ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี รับฟังการบรรยายเรื่อง “การพัฒนาสมุนไพรพื้นบ้าน หรือสมุนไพรไทย จากภูมิปัญญาของชาวบ้าน เอามาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ของสินค้าอุปโภคและบริโภคต่อชีวิตประจำวัน”

ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจทั้งสองที่นี้เขาสามารถแปรรูปสมุนไพรขั้นต้นให้เป็นยาสมุนไพรต่าง ๆ ในการรักษาโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นไอไข้หวัด เรื่องระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เขาสามารถหยิบใช้สมุนไพรที่มีในครัวเรือนมารักษาโรคต่าง ๆ ได้

3.ศึกษาดูงานที่เป็นปลายน้ำของสมุนไพรไทย ที่บริษัทแก้วมังกรเภสัช จำกัด ต.ดอนกระเบื้อง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ซึ่งปลายทางของสมุนไพรไทยทำอย่างไรถึงจะเชื่อมโยงวัตถุดิบของเราเข้าสู่โรงงานอุสาหกรรมได้

  “คือเราจะมองตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง  และมองหาตลาดด้วยซึ่งตรงนี้คือเรื่องสำคัญ ที่เราได้ในการมาศึกษาดูงานทั้ง 3 วันในครั้งนี้”  นายธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

นายสมเจตน์ กาญจนประทุม  เกษตรกร ต. ป่าตาล อ. เมือง จ. ลพบุรี

เกษตรกรปลูกพืชผสมผสานไม้ผล ผักพื้นบ้าน  และประธานเกษตรกรตลาดลพบุรี ที่ช่วยดูแลเกษตรกรวางแผนผลิต ดูแลพื้นที่การจำหน่ายตามแต่พื้นที่บุคคล ได้สะท้อนปัญหาของเกษตรกรลพบุรีว่า

“ปัญหาหลักของเกษตรกรลพบุรีคือไม่มีทิศทางการตลาดที่ชัดเจน ไม่ทราบว่าจะผลิตอะไรเมื่อไหร่ ปริมาณเท่าไหร่ และจะนำไปจำหน่ายที่ไหน การผลิตที่ไม่สอดคล้องกับการตลาด การปรับตัวกับสภาพอากาศ”

นายสมเจตน์ กล่าวย้ำว่าเกษตรกรที่ดีต้องพร้อมที่จะปรับตัวปรับเปลี่ยน ต้องมีความมุมานะหาข้อมูลใหม่ ๆ พร้อมที่จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

“การวางแผนการผลิตคือจุดอ่อนของเกษตรกรไทย เพราะเกษตรกรไทยยังไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์พื้นฐานง่าย ๆ นั่นก็คือเรื่องอุปสงค์และอุปทาน( demand and supply)”

นางเครือวัลย์ ก้านลำไย เกษตรกร ต. โพธิ์ตรุ อ. เมือง จ. ลพบุรี

เกษตรกรเจ้าของ สวนระวี และศูนย์ศึกษาและพัฒนายาในตำราพระโอสถพระนารายณ์ได้ฝากข้อคิดถึงเกษตรกรว่า

 “อย่าเอาเงินเป็นตัวตั้ง อย่าหวังว่าจะรวยในทันตา อย่าทำตัวให้ต่ำ หวังว่าจะได้เงินเยอะ อย่าเอาเงินเป็นที่ตั้ง อย่ายัดไส้เอาของที่คุณภาพไม่ถึงมาขายรวมกับของคุณภาพสูงเพื่อให้ได้ราคาดี อันนี้คือการฆ่าตัวตาย เกษตรกรที่ดีคือต้องทำผลิตภัณฑ์ให้เหนือความคาดหมายของลูกค้า เหนือสิ่งที่ลูกค้ามองอยู่ เราต้องยกระดับตัวเองขึ้นมาไม่ใช่เป็นแค่เกษตรกรพื้นบ้านเท่านั้น เพราะเราสามารถเป็นเกษตรกรบนพรหมแดงได้ เราสามารถกำหนดราคาสินค้าด้วยตัวเองได้”

นายชาลี น้อยสอาด ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยากร ต. ชะอำ อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี โทร.08 1197 7974

เผยเคล็ดลับการปลูกพืชให้ได้ผลสัมฤทธิ์แบบง่าย ๆ ว่า

“การปลูกหญ้าแฝกของในหลวง ซี่งมีประโยชน์แบบคาดไม่ถึง ซึ่งรากของหญ้าแฝกจะมีความลึกประมาณ 3-4 เมตร สามารถทำให้ดินมันฟื้นฟูได้ดี  เลยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการปลูกพืช หลังจากนั้นก็เกี่ยวใบมาคลุมพื้นที่เราปลูกพืชไว้ เวลาเกิดฟ้าผ่าจะเกิดในโตรเจนแทรกซึมไปในรากหญ้าแฝก มันจะสะสมในโตรเจนไว้ใน 5 ตร.กม. จะมีในโตรเจนสะสมในดิน 4 ตร.กม./ไร่”

You May Also Like

More From Author

+ There are no comments

Add yours