สื่อมวลชนสัญจรติดตาม “โครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการจัดระเบียบชายแดน” พิษณุโลก,ตาก


R-U-GO.COM:เมื่อวันที่ 19 – 21 ธันวาคม 2561 กองบัญชาการกองทัพไทย โดย กรมกิจการพลเรือนทหาร  จัดโครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการจัดระเบียบชายแดน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ในพื้นที่จังหวัด พิษณุโลก และจังหวัดตาก โดยมี พลเอก ชูชาติ  บัวขาว รองเสนาธิการทหาร เป็นประธาน  โครงการฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งปฏิบัติภารกิจอยู่ตามแนวชายแดนอันเป็นภารกิจหลักของกองทัพไทยในการรักษาความ มั่นคงของชาติ อีกทั้งยังได้รับทราบข้อเท็จจริงในด้านต่างๆ เพื่อสามารถนำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้สาธารณชน ได้รับทราบอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดความร่วมมืออันดีระหว่างทหารกับ ประชาชน ซึ่งหน่วยงานที่สื่อมวลชนได้ไปเยี่ยมชมในครั้งนี้ประกอบด้วยกองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จัดการบรรยายสรุป ภารกิจและนำชมการปฏิบัติต่าง ๆ ได้แก่

โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทาน “เพื่อนช่วยเพื่อน” พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

สืบเนื่องจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ภายในค่ายเอกาทศรถ จังหวัด พิษณุโลก มีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ดั้งเดิมของไทยไว้ใช้เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ให้มี การแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์กันในหมู่เพื่อนบ้าน ซึ่งทุกวันนี้มีโอกาสหายาก เพราะทุกวันนี้ในท้องตลาดมีแต่เมล็ดพันธุ์ ลูกผสมที่สามารถปลูกได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเก็บไว้ขยายพันธุ์ต่อไปได้ จะปลูกพืชในฤดูกาลต่อไป จะต้องไป หาซื้อจากภาคเอกชนในท้องตลาด

 

โดยโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2560 บนพื้นที่ 200 ไร่ เริ่มจากน าเมล็ดพันธุ์พืชมาจากศูนย์ พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดเชียงราย เริ่มต้นจาก 10 ไร่ เมื่อปี พ.ศ.2561 ขยายเพิ่มเป็น 50 ไร่ และ ปัจจุบันขยายพื้นที่ออกไปจนถึง 200 ไร่ โดยมีนายทหารแต่ละหน่วยรับผิดชอบ จึงใช้ชื่อว่า “กิจกรรมโครงการ ทหารพันธุ์ดี” ระยะแรกปลูกขยายพันธุ์บวบงู ถั่วพู แตงกวา มะเขือเปราะเจ้าพระยา ผักปลังแดง พริกขี้หนู มะเขือยาว กะเพราแดง ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1 โดยใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น เรียกได้ว่า เป็นเกษตรอินทรีย์ 100%

โครงการเลี้ยงแพะพระราชทาน พันธ์แบล็คเบงกอล

โครงการฯ นี้เป็นหนึ่งในโครงการเดินตามรอยเท้าพ่อ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2553 กองทัพภาคที่ 3 ได้ร่วมกับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) หรือปตท.สผ. ดำาเนินการจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อจัดทำเป็นศูนย์สาธิตในการน้อมนำแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในชีวิตประจำวันของกำาลังพลและครอบครัว โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ให้ แนวทางพระราชดำริในการส่งเสริมทำการเกษตรอินทรีย์ในหน่วยทหาร เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่กำลังพล และ ประชาชนที่สนใจ กองทัพภาคที่ 3 จึงได้ดำาเนินโครงการตามแนวพระราชดำริโดยใช้ชื่อว่า โครงการเดินตาม รอยเท้าพ่อ กองทัพภาคที่ 3 และมีการดำเนินการในพื้นที่ค่าย ทั้งหมด 17 จังหวัดภาคเหนือ

สำหรับพื้นที่ในค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งนี้ มีพื้นที่ 6,625 ไร่ จัดทำาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 2,135 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่เลี้ยงแพะพระราชทานพันธุ์แบล็คเบงกอล จำานวน 16 ไร่ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารีได้ทรงพระราชทานแพะ จำนวน 50 ตัว เป็นเพศผู้ 30 ตัว เพศเมีย 20 ตัว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่รวบรวมองค์ความรู้และวิธีการ (Know How) การเลี้ยงแพะพันธุ์แบล็คเบงกอลให้กำลังพล และครอบครัว รวมไปถึงชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท.สผ. ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ ได้เข้าศึกษา เรียนรู้ นำาไปขยายผลและประกอบอาชีพได้ และเป็นแหล่งผลิตแพะพันธุ์แบล็คเบงกอลพระราชทานอีกแห่งหนึ่ง ในภาคเหนือตอนล่าง และสามารถนำผลผลิตดังกล่าว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำไปพระราชทานแก่เกษตรกรผู้ยากไร้ รวมถึงผลิตเพื่อจำหน่ายแจกจ่ายแก่กำลังพลและ ครอบครัว รวมไปถึงชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติงานของ ปตท.สผ. ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการเลี้ยงเพื่อ ประกอบเป็นอาชีพ

 โครงการปลูกข้าวอินทรีย์

โครงการฯ นี้ได้กำเนิดขึ้นเมื่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริกับ พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 ให้หน่วยทหารดำเนินการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ในลักษณะการ ทำนาแปลงใหญ่แบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำผลผลิตไปเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนและเป็นแหล่ง ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ต่อไปกองทัพภาคที่ 3 จึงได้ดำเนินโครงการเดินตามรอยเท้าพ่อ (เกษตรอินทรีย์) กองทัพภาคที่ 3โดยใช้พื้นที่ภายในค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ

ศูนย์การเรียนเศรษฐกิจพอเพียงกองทัพภาคที่ 3

ศูนย์การเรียนรู้ฯ นี้ดำเนินงานตามโครงการตามรอยเท้าพ่อ ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2553 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยในพื้นที่ศูนย์ การเรียนรู้ฯ แบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อย คือ การเกษตรกรรม มีการปลูกนาข้าว สำหรับกำลังพลและทดลอง การพัฒนาพันธุ์ข้าวต่างๆ ด้านปศุสัตว์ มีการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา กบ หมู จิ้งหรีด เพื่อเป็นอาหาร และนาไป จำาหน่าย และด้านอื่น เช่นโรงสีชุมชน การทำ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอด สารพิษ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงก็สามารถนำไปใช้ผลประโยชน์ร่วมกัน

โดยหลังจากโครงการนี้เริ่มขึ้น ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีประชาชนในพื้นที่ ทั้งในพิษณุโลก และต่างจังหวัดต่างเข้ามาดูและศึกษาการท าเกษตรกรพอเพียงในรั้วของกองพันทหารปืนใหญ่ ที่ 104 และได้ร่วมกับ ปตท.สผ. น าเยาวชนตามจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือมาศึกษาดูงาน เพื่อนำไปต่อยอดในการ ประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้ยังได้นำผู้อยู่ภายในโครงการนิวัฒน์พลเมือง มาร่วมกิจกรรมกับกำลังพล ด้วยการปลูก พืชพักต่างๆ เพื่อให้ผู้อยู่ภายในโครงการนิวัฒน์พลเมือง ได้นำไปสร้างอาชีพ สร้างรายได้เช่นกัน ซึ่งรายได้จากการ ขายพืชผักเหล่านี้ ทางกองทัพภาคที่ 3 ได้ยกให้กำลังพล เป็นรายได้เสริม

 สำหรับผู้ที่สนใจต้องการชมหรือศึกษา พร้อมกับเลือกซื้อพืชผักสวนครัวที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง กองทัพภาคที่ 3 แห่งนี้ ก็สามารถไปชมกันได้ที่กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ 104 ตามเวลาราชการ หรือสอบถาม ที่ได้ โทร. 055-251076

และปิดท้ายด้วย หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 ร่วมกับ สำนักงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก  จัดการบรรยายสรุป และนำชมด่านพรมแดนสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา (ตลาดริมเมย)

เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง พื้นที่เฉพาะซึ่งได้รับมอบอำนาจการ บริหารบางประการเพื่อให้สามารถ ปกครองและ จัดการพื้นที่นั้นๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไป ถึงให้สอดคล้องกับการขยายตัวหรืออุปสรรค ต่างๆ ใน เขตพื้นที่นั้นๆ ภายใต้การสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างขั้นพื้นฐานจากรัฐบาลกลางซึ่งกำกับดูแลพื้นที่นั้น แนวคิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย พบว่า แนวคิดการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษไม่ใช่เรื่องใหม่ ในประเทศไทย ในระยะเวลาที่ผ่านมามีการพัฒนาในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน แต่มีรูปแบบต่าง ๆ กัน ได้แก่ 1. นิคมอุตสาหกรรม (Industrial Estate: IE) เป็นรูปแบบการพัฒนาของพื้นที่เฉพาะ 2. เขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (Export Processing Zone: EPZ) เป็นรูปแบบการพัฒนาของเมือง ใกล้ท่าเรือหรือสนามบิน 3. คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse: BW) 4. ร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shop: DFS) 5. เขตการค้าเสรี (Free Trade Zone : FTZ) 6. เขตการค้าปลอดภาษี (Duty Free Port) เป็นรูปแบบการพัฒนาของเมืองท่า 7. เขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดน (Special Border Economic Zone: SBEZ) เป็นรูปแบบการพัฒนาของ พื้นที่ตามแนวชายแดน

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีสาระสำคัญ 3 ประการคือ 1. เขตเศรษฐกิจพิเศษไม่มีการจำกัดประเภทของธุรกิจ โดยนอกจากการอุตสาหกรรมแล้ว ผู้ประกอบการ ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษยังสามารถประกอบธุรกิจการเกษตร การปศุสัตว์การประมง การท่องเที่ยว การขนส่ง การเคหะและการก่อสร้าง การวิจัยและการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง ตลอดจนการค้า และการบริการด้วย

  1. ผู้อาศัยและผู้ประกอบธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีอากร
  2. องค์กรบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องมีอำนาจอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้อาศัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษทุกเรื่องเพื่อก่อให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ

สาระสำคัญของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งสามประการดังกล่าวข้างต้น จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในเวทีการค้าระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ อันเป็นการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนโดยตรงในพื้นที่โดยเฉพาะและพื้นที่ใกล้เคียง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *